วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

59 ปี ศ.อ.ศ.อ. อีกครั้ง

สถาบัน กศน. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นชื่อปัจจุบัน ของสถานศึกษาสังกัด กศน. ในภาคอีสาน ซึ่งชื่อนี้ ใช้มาเมื่อไม่กี่ปีมานี้ แต่ว่า หน่วยงานแห่งนี้ ตั้งมา 59 ปีแล้ว คือตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2498 ถ้านับถึงวันนี้ก็ 59 ปี กับ 7 วัน ถ้าเป็นคนก็เรียกว่า อายุย่างเข้า 60 ปี ถือว่า เป็นหน่วยราชการที่มีอายุยืนยาวอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยราชการ ด้านการศึกษามาโดยตลอด ถ้าเปรียบเทียบหน่วยงานนี้เป็นข้าราชการ ก็ถือว่าปีนี้เป็นปีที่จะเกษียณอายุราชการแล้ว
  • ลองดูวิวัฒนาการความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของหน่วยงานแห่งนี้ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งชื่อของหน่วยงานที่เปลี่ยนไปตามบทบาทหน้าที่ บุคลากรที่หมุนเวียนเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานนี้ หรือแม้แต่สภาพทางกายภาพที่เป็นอาคาร สถานที่ และสภาพแวดล้อมต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงจนเรียกได้ว่า บางอย่างเปลี่ยนแปลงไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือ แต่บางอย่างก็ยังคงยืนหยัดสู้แดดสู้ฝน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
  • เปรียบเทียบสภาพเมื่อประมาณ 36 ปีที่แล้ว ที่ผู้เขียนเริ่มรับราชการ ที่หน่วยงานแห่งนี้ กับปัจจุบัน มีความเปลี่ยนแปลไปมากบางอย่างเกิดขึ้นใหม่ บางอย่างสูญหายไป บางอย่างเปลี่ยนแปลไป บางอย่างยังคงเดิม บางช่วงมีความเจริญรุ่งเรือง บางช่วงซบเซา เปรียบเหมือนกับชีวิตของตัวเราในการรับราชการ ณ สถาบันแห่งนี้ ซึ่งมามีอายุครบ 60 ปี หลังจากสถาบันแห่งนี้ออกไปอีก 3 ปี เรียกได้ว่า จะเกษียณอายุราชการ เมื่อสถาบันแห่งนี้อายุครบ 60 ไปแล้ว 3 ปี
  • การปฏิบัติงานที่สถาบันแห่งนี้ ตั้งแต่ปี 2520 ก็มีความเจริญก้าวหน้า ทางหน้าที่การงานมาโดยตลอด และถือว่าได้ทุ่มเทปฏิบัติงานให้กับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายตามกำลังและสติปัญญาที่มีมาตลอด แต่ไม่ว่าจะทุ่มเทเพียงใด ก็ไม่สามารถหลีกพ้นกฎของธรรมชาติไปได้ มีช่วงที่ขึ้นสูง แล้วก็เริ่มต่ำลง ตามสังขารที่เริ่มร่วงโรย ที่ฉุดให้เรื่องต่างๆ เสื่อมตามไปด้วย นี่แหละเขาจึงกำหนดให้คนเราเกษียณอายุราชการเมื่ออายุ 60 ปี  เพราะถือเป็นช่วงเวลาที่คิดว่า น่าจะเพียงพอแล้ว ต่อการปฏิบัติงาน
  • หวังว่า สถาบันแห่งนี้ คงจะไม่เอาหลักเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับข้าราชการมาใช้ คือเกษียณอายุ เมื่ออายุ 60 ปี

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วันสถาปนา ศ.อ.ศ.อ. ครบรอบ 59 ปี

วันนี้ ตรงกับวันที่ 14 พฤษภาคม 2556 ย้อนหลังไปเมื่อ 59 ปี ที่แล้ว คือวันที่ 14 พฤษภาคม 2498 เป็นวันทำพิธีเปิด ศ.อ.ศ.อ. อย่างเป็นทางการ หรือเรียกว่าเป็นวันก่อตั้ง ศ.อ.ศ.อ. วันนี้จึงได้จัดงานเพื่อรำลึก วันสถาปนา ศ.อ.ศ.อ. ซึ่งปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อมาเป็น สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งงานในวันนี้ มีกิจกรรมหลายอย่าง แต่เป็นกิจกรรมที่ทำอย่างเรียบง่าย ด้วยการทำบุญใส่บาตรในตอนเช้า ต่อด้วยการบวงสรวงพระไชยบุรี กิจกรรมรำลึก 59 ปี ศ.อ.ศ.อ. ณ อนุสรณ์สถานหน้าตึกอำนวยการ และกิจกรรมต่างๆในห้องประชุม
  • ศ.อ.ศ.อ. ได้ทำบทบาทภารกิจตั้งแต่วันสถาปนาในปี 2498 มาเป็นเวลาประมาณ 21 ปี ก็เปลี่ยนชื่อสถาบันเป็น ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2519 รวมเวลาของการทำบทบาทหน้าของ ศูนย์กลางอบรมการศึกษาผู้ใหญ่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเวลา 21 ปี
  • จากปี พ.ศ. 2519 เป็นต้นมา มีการเปลี่ยนชื่อหน่วยงานแห่งนี้อีกครั้ง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ปี พ.ศ. 2522 โดยปรับชื่อเป็น ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ศนอ.)"ศ.อ.ศ.อ." เพื่อเป็นการรำลึกถึง ศ.อ.ศ.อ. ที่ยิ่งใหญ่ในอดีต และใช้ชื่อย่อว่า ศนอ. และคงใช้ชื่อนี้ มาจนถึงวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2551 รวมเวลาประมาณ 4 ปี
  • ต่อมากรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้เปลี่ยนสถานะเป็นเป็น สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีผลทำให้ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 นับเวลาที่ใช้ชื่อ ศนอ. ทั้งสิ้นประมาณ 29 ปี
  • จากปี พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาประมาณ5 ปี ยังคงใช้ชื่อ สถาบัน กศน. ภาคตะวันออกเฉียงหนือ และไม่แน่ใจว่า จะใช้ชื่อนี้อีกนานเท่าไร
ดังนั้น ตั้งแต่สถาปนา ศ.อ.ศ.อ. จนกระทั่งเปลี่ยนชื่อไปต่างๆ จนถึงปัจจุบัน นับเวลาได้ 59 ปีแล้ว ถ้าเป็นคนเข้ารับราชการ ก็ถือว่า ปีหน้าจะเกษียณอายุราชการแล้ว ไม่รู้ว่า ศ.อ.ศ.อ. จะเกษียณอายุราชการตามไปด้วยหรือไม่ เพื่อปรับตัวเองไปอยู่ในสถานะข้าราชการบำนาญ

วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

4.3 การจัดตั้งกลุ่มและบริหารจัดการกลุ่ม : กาจัดการสถานะของสมาชิก


  

เมื่อจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาแล้ว ตัวเราเองจะต้องทำหน้าที่ผู้ดูแลกลุ่ม หรือที่เรียกในภาษาของ Facebook ว่าเป็น แอดมิน (Admin) ททำหน้าที่บริหารจัดการกลุ่ม ซึ่งแอดมิน จะทำหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. ลบ หรือ ยกเลิกกลุ่ม
  2. เพิ่มสมาชิกในกลุ่ม ด้วยวิธีการต่างๆ
  3. ยอมรับ หรืออนุญาตให้เพื่อนสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่ม หรือปฏิเสธเพื่อบางคนไม่ให้เข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม
  4. กำหนดให้สมาชิกบางคนในกลุ่มทำหน้าที่เป็นแอดมินเหมือนตัวเอง
  5. ลบสมาชิกออกจากกลุ่ม
หน้าที่ต่างๆในการบริหารจัดการกลุ่ม ของแอดมินนี้  บางเรื่อง ต้องทำตลอดเวลา แต่บางเรื่องนานๆจึงจะทำครั้งหนึ่ง มาดูรายละเอียดกันว่า แต่ละหน้าที่มีวิธีการทำอย่างไร
1. การลบ หรือยกเลิกกลุ่ม
      การลบหรือยกเลิกกลุ่ม ดำเนินการ 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 ลบสมาชิกออกจากกลุ่มทุกคน ขั้นตอนที่ 2 ลบตัวเราเองออกจากกลุ่ม




2. การเพิ่มสมาชิกในกลุ่ม
     วิธีการเพิ่มสมาชิกของกลุ่ม โดย แอดมิน สามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้
      2.1 เพิ่มจากรายชื่อสมาชิกที่แนะนำ ซึ่งจะปรากฏรายการ โดยเปิดกลุ่มขึ้นมา (คลิกที่ชื่อกลุ่ม คือ เปิดกล้องท่องเที่ยว)



      ทางด้านขวา จะมีข้อความว่า สมาชิกที่แนะนำ พร้อมทั้งมีชื่อเพื่อนเรียงกันอยู่ ด้านข้างของชื่อ จะมีปุ่มที่มีข้อความว่า "เพิ่ม" เราต้องการเพิ่มเพื่อนท่านใดเข้ามาในกลุ่ม ก็ให้คลิกที่ปุ่มเพิ่ม เพื่อคนนั้นก็จะเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มทันที


   ผลที่เกิดขึ้นคือ จะมีการแจ้งว่า มีสมาชิก 7 คน และสมาชิกใหม่ 6 คน พร้อมทั้งมีรูปสมาชิกใหม่ ปรากฏขึ้นที่ด้านบน
  
      2.2 เพิ่มสมาชิกจากรายการ
                  ให้คลิกในช่อง เพิ่มบุคลากรในกลุ่ม แล้วพิมพ์ตัวอักษรที่เป็นชื่อเพื่อน จะปราากฏรายการชื่อเพื่อนที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรที่เราพิมพ์ขึ้นมา ต่อจากนั้น ให้คลิกที่ชื่อเพื่อที่ต้องการ เพื่อนคนนั้น ก็จะเข้ามาเป็นสมาชิกของกลุ่มทันที



3. การยอมรับ หรืออนุญาตให้เพื่อนสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่ม หรือปฏิเสธเพื่อบางคนไม่ให้เข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม ได้กล่าวรายละเอียดมาแล้ว ในข้อ 4.2


4.  การกำหนดให้สมาชิกบางคนในกลุ่มทำหน้าที่เป็นแอดมินเหมือนตัวเอง
      ให้คลิกเปิดรายชื่อสมาชิกกลุ่มทั้งหมดขึ้นมา โดยคลิกที่ข้อความ "ดูสมาชิกทั้งหมด"



จะเปิดรายชื่อสมาชิกทั้งหมดขึ้นมา



ให้คลิกเมาส์ ที่ปุ่มรูปดอกจันทร์ ดังภาพ จะปรากฏข้อความสองบรรทัด ให้คลิกที่คำว่า แต่งตั้งให้เป็น แอดมิน



จะปรากฏข้อความอธิบายการเพิ่มผู้ดูแลระบบ ให้เราคลิกที่ปุ่ม แต่งตั้งให้เป็นแอดมิน


5. การลบสมาชิกออกจากกลุ่ม
    ถ้าต้องการลบเพื่อคนใดออกจากสมาชิกกลุ่ม ให้คลิกที่รูปดอกจันทร์ของเพื่อคนนั้น แล้วคลิกที่ปุ่ม ลบออกจากกลุ่ม

4.2 การจัดตั้งกลุ่มและบริหารจัดการกลุ่ม: การยอมรับสมาชิก

เมื่อเราสร้างกลุ่มเรียบร้อยแล้ว ต่อไป จำนวนสมาชิกกลุ่ม ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการเพิ่มสมาชิกของกบุ่ม ทำได้ 3 วิธีคือ
      วิธีที่ 1 เราเป็นผู้เพิ่มสมาชิกของกลุ่ม
      วิธีที่ 2 เพื่อนที่เป็นสมาชิกในกลุ่ม เป็นผู้เพิ่มสมาชิก
      วิธีที่ 3 เพื่อน เป็นผู้สมัครเข้ามาเป็นสมาชิก
การเพิ่มวิธีที่ 1 เราเป็นผู้เพิ่มเอง ดังนั้นจึงสามารถเพิ่มชื่อเพื่อเข้าเป็นสมาชิกได้ทันที แต่วิธีท่ี 2 และ 3 เพื่อคนอื่นเป็นคนสมัคร ดังนั้นจึงยังไม่สามารถเป็นสมาชิกกลุ่มได้ทันที จนกว่าเราจะอนุญาต คือยอมรับเข้ามาเป็นสมาชิก ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงจำเป็นต้องตรวจดูตลอดเวลาว่า มีเพื่อคนใดสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกบ้าง จะได้ยอมรับการเข้าเป็นสมาชิก ที่ต้องตรวจสอบตลอดเวลาเพราะ เราไม่รู้ว่า เพื่อนจะสมัครเข้ามาเมื่อไร
วิธีการตรวจสอบ ว่ามีเพื่อสมัครเข้ามาเป็นสมาชิดหรือไม่

      ให้คลิกที่ชื่อกลุ่มที่เราสร้าง ในที่นี้คือคลิกที่ชื่อกลุ่ม เปิดกล้องท่องเที่ยว



      จากภาพนี้ จะแสดงรายละเอียดสมาชิกในกลุ่ม แต่ไม่มีสมาชิกที่สมัครเข้าใหม่

    แต่ถ้าเปิดเข้าไปแล้วพบข้อความว่า คำร้องขอ (1) ดังภาพ แสดงว่า มีเพื่อนสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่ม จำนวน 1 คน โดยมีรายชื่อเพื่ออยู่ด้านล่าง การยอมรับเพื่อนเข้ามาเป็นสมาชิก ให้คลิกที่เครื่องหมาถูก ที่ตรงกับชื่อเพื่อน เพียงเท่านี้ ก็เป็นการยอมรับเพื่อนเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่ม "เปิดกล้องท่องเที่ยว"

4.1 การจัดตั้งกลุ่มและบริหารจัดการกลุ่ม : การตั้งกลุ่ม

เมื่อเราใช้ Facebook มาได้ระยะหนึ่ง จะเริ่มมี่เพื่อนมาขึ้นเรื่อยๆ และสามารถมีเพื่อนได้ไม่เกิน 5000 คน เมื่อเรามีเพื่อนมากขึ้น ก็จะมีข้อความ รูปภาพ หรืออื่นๆ จากเพื่อนที่โพสไว้บน facebook เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งบางครั้งไม่มีเวลาอ่านทั้งหมด หรือบางครั้งเราต้องการดูรูป หรือข้อความที่เพื่อนบางกลุ่ม ส่งขึ้นมา จะต้องเสียเวลาค้นหา ดังนั้น เพื่อความสะดวก Facebook จึงได้อำนวยความสะดวกให้เราสามารถจัดกลุ่มเพื่อนของเราได้เป็นกลุ่มๆ เพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร

การสร้างกลุ่ม ทำอย่างไร

       เมื่อเราตัดสินใจจะสร้างกลุ่ม จะต้องคิดก่อนว่า เราจะสร้างกลุ่มอะไร เพื่อจะได้กำหนดชื่อกลุ่มให้เหมาะสมเป็นที่น่าสนใจ ต่อจากนั้นต้องคิดต่อไปว่า ใครจะเป็นสมาชิกกลุ่มบ้าง เพราะการตั้งกลุ่มครั้งแรก จะต้องมีเพื่อนเราอย่างน้อย 1 คน มาเป็นสมาชิกกลุ่ม เมื่อพร้อมแล้ว ก็ตั้งกลุ่ม ได้เลย โดยมีขั้นตอนการสร้างกลุ่มโดยสรุปดังนี้

1 ตั้งชื่อกลุ่ม  2 เพิ่มสมาชิกในกลุ่ม 3 กำหนดความเป็นส่วนตัว 4 เลือกไอคอน 

เมื่อพร้อมแล้ว ก็เริ่มสร้างกลุ่มตามขั้นตอนดังนี้

1 การสร้างกลุ่ม
    การสร้างกลุ่ม จะต้องเปิดที่ หน้าแรก


ให้คลิกที่หัวข้อ สร้างกลุ่ม
เมื่อเปิดที่หน้าแรก จะพบหัวข้อที่ชื่อกลุ่ม จะพบข้อความว่า "สร้างกลุ่ม..." (ในภาพ ได้มีการสร้างกลุ่มไว้แล้ว จึงมีรายการชื่อกลุ่มต่างๆ ปรากฏขึ้นมา แต่ถ้ายังไม่เคยสร้างกลุ่มเลย จะมีเฉพาะข้อความว่า สร้างกลุ่ม) ให้กลิกที่ข้อความ สร้างกลุ่ม...



จะเปิดกรอบ "สร้างกลุ่มใหม่" ขึ้นมา ให้ป้อนข้อมูล 3 แห่ง คือ ชื่อกลุ่ม สมาชิก และ ความเป็นส่วนตัว
        1 ชื่อกลุ่ม ให้พิมพ์ชื่อกลุ่มที่เตรียมไว้ เช่นตามตัวอย่าง ตั้งชื่อกลุ่มว่า "เปิดกล้องท่องเที่ยว"
        2 สมาชิกกลุ่ม จะต้องมีสมาชิกกลุ่มอย่างน้อย 1 คน ให้เราพิมพ์ตัวอักษรที่เป็นชื่อเพื่อนลงไป ก็จะปรากฏรายการชื่อเพื่อน ที่มีอักษรตัวแรกที่เราพิมพ์ ปรากฏขึ้นมา ให้เราคลิกที่ชื่อเพื่อน 1 คน

      จะปรากฏรายชื่อเพื่อเข้าไปอยู่ในช่อง สมาชิก ขณะที่ใต้ช่อง สมาชิก ก็จะมีรายชื่อเพื่อคนอื่นๆ ปรากฏขึ้นมาอีก ถ้าต้องการเพิ่มเพื่อนเข้าไปในกลุ่มอีก ก็คลิกที่ชื่อเพื่อน รายชื่อก็จะเข้าไปปรากฏในกล่องสมาชิก
      3 กำหนดความเป็นส่วนตัว โดยเลือกว่า จะเป็นแบบ  เปิด  ปิด หรือ ลับ โดยจะมีคำอธิบายว่า แต่ละแบบหมายถึงอะไร ในที่นี้ให้เราเลือกเป็นแบบเปิด
       เมื่อเลือกครบแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม สร้าง
      4 เลือก ไอคอน เป็นสัญญลักษณ์แทนกลุ่ม ซึ่งขั้นตอนนี้อาจจะข้ามไปก็ได้ โดยคลิกที่คำว่า "ข้าม" แต่ถ้าเลือกก็ให้ใช้เมาส์เลือกไอคอนที่ต้องการ

      ในที่นี้เลือกไอคอนรูปกล้อง เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม "ตกลง"



      รายชื่อกลุ่มที่สร้างใหม่ ก็จะปรากฏขึ้นมา พร้อมทั้งมีข้อความบอกว่า เราได้สร้างกลุ่มขึ้นมา


 



2 การลบกลุ่ม ลบสมาชิกคนอื่นๆ ในกลุ่มออกให้หมดให้เหลือเราเป็นคนสุดท้าย แล้วคลิกที่ออกจากกลุ่ม จะมีปุ่แจ้งว่าจะเป็นการลบกลุ่ม


3 การเพิ่มสมาชิกในกลุ่ม โดยผู้ดูแลระบบ (admin)
   - การเพิ่มสมาชิกโดยผู้ดูแลระบบ  เพิ่มได้ทันที
   - ส่งข้อความไปเชิญสมาชิก
   - ส่ง mail ไปเชิญสมาชิก
4 การสมัครเข้ากลุ่ม
   - เพิ่มบุคคลเข้ากลุ่มโดยสมาชิกของกลุ่ม แล้ว admin อนุญาติให้เป็นสาชิกกลุ่ม
   - บุคคลอื่นๆ ต้องการสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม
       - ค้นหากลุ่ม จะเปิดกลุ่มขึ้นมา
      - คลิกเข้าร่วมกลุ่ม แล้วรอให้ admin เขายอมรับ   ถ้าเปลี่ยนใจไม่ต้องการเข้ากลุ่ม  ยกเลิกคำขอ
      - เมื่อ admin เข้ามาในกลุ่ม จะพบกล่อง คำร้องของ(จำนวนผู้ขอเข้ากลุ่ม) พร้อมทั้งมีรายการผู้ขอเข้ากลุ่ม แต่ถ้ามีหลายคนให้คลิกที่ ดูทั้งหมด ถ้าต้องการอนุญาตใครเข้ากลุ่มให้คลิกเครื่องหมายถูกที่ชื่อคนนั้น ไม่ต้องการให้คลิกที่ กากบาท

5 จัดการสมาชิกในกลุ่ม/การลบสมาชิดออกจากกลุ่ม
   - คลิกที่คำว่า สมาชิก....คน จะเปิดรายชื่อสมาชิกในกลุ่มทั้งหมด
   - แต่ละคน จะแก้ไขได้ 2 อย่าง คือ แต่งตั้งให้เป็นแอดมิน และ ลบออกจากกลุ่ม

ส่งข้อความถึงสมาชิก
เรียงสมาชิกตาชื่อ หรือวันที่เป็นสมาชิก


http://facebook.kapook.com/tip_and_technic/create_group.php

1.3 ควมรู้เบื้องต้น : คุณลักษณะของ Facebook

คุณลักษณะของ Facebook



ทำควมรู้จัก Facebook http://www.it-guides.com/training-a-tutorial/facebook-tutorial/959-what-is-facebook



ข้อดีและข้อเสียของ FaceBook
      
       ข้อดี
      
       1.FaceBook จะเป็นการสร้างเครือข่ายและจุดประกายด้านการศึกษาได้อย่างกว้างขวาง หากใช้ได้อย่างถูกวิธี
      
       2.ทำให้ไม่ตกข่าว คือทราบความคืบหน้า เหตุการณ์ของบุคคลต่างๆและผู้ที่ใกล้ชิด
      
       3.ผู้ใช้สามารถสร้างเครือข่ายทางสังคม แฟนคลับหรือผู้ที่มีเป้าหมายเหมือนกัน และทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้
      
       4.สามารถสร้างมิตรแท้ หรือเพื่อนที่รู้ใจที่แท้จริงได้
      
       5.FaceBook เป็นซอฟแวร์ที่เอื้อต่อผู้ที่มีปัญหาในการปรับตัวทางสังคม ขาดเพื่อน อยู่โดดเดี่ยว หรือผู้ที่ไม่สามารถออกจากบ้านได้ ให้มีเครือข่ายทางสังคม และเติมเต็มชีวิตทางสังคมได้อย่างดี ไม่เหงาและปรับตัวได้ง่ายขึ้น
      
       6.สร้างเครือข่ายที่ดี สร้างความเห็นอกเห็นใจ และให้กำลังใจที่ดีแก่ผู้อื่นได้
      
       ข้อเสีย
      
       1.FaceBook เป็นการขยายเครือข่ายทางสังคมในโลกอินเตอร์เนต ดังนั้นการมีเพิ่มเพื่อนเครือข่ายที่ไม่รู้จักดีพอ จะทำให้เกิดการลักลอบขโมยข้อมูล หรือการแฝงตัวของขบวนการหลอกลวงต่างๆได้
      
       2.เพื่อนทุกคนในเครือข่ายสามารถเขียนข้อความต่างๆลง Wall ของ FaceBook ได้แต่หากเป็นข้อความที่เป็นความลับ การใส่ร้ายกัน หรือแฝงไว้ด้วยการยั่วยุต่างๆ จะทำให้ผู้อ่านที่ไม่มีวุฒิภาวะพอ หลงเชื่อ เกิดความขัดแย้ง และปัญหาตามมาในภายหลังได้
      
       3.Facebook อาจเป็นช่องทางในการสร้างสังคมแห่งการนินทา หรือการยุ่งเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นโดยใช่เหตุ โดยเฉพาะสังคมที่ชอบสอดรู้สอดเห็น
      
       4.การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดให้กับบุคคลภายนอกที่ไม่รู้จักดีพอ เช่นการลงรูปภาพของครอบครัวหรือลูก อาจนำมาเรื่องปัญหาการปลอมตัว หรือการหลอกลวงอื่นๆที่คาดไม่ถึงได้
      
       5.เด็กๆที่ใช้เวลาในการเล่น Facebook มากเกินไป จะทำให้เสียการเรียน
      
       6.ในการสร้างความผูกพันและการปรับตัวทางสังคมเป็นการพบปะกันในโลกของความจริง มากกว่าในโลกอินเตอร์เนต ดังนั้นผู้อยู่ในโลกของไซเบอร์มากเกินไปอาจทำให้มีปัญหาทางจิต หรือขาดการปรับตัวทางสังคมที่ดี โดยเฉพาะผู้ที่ชอบเล่น FaceBook ตั้งแต่ยังเด็ก
      
       7.FaceBook อาจเป็นแรงขับให้มีการพบปะทางสังคมในโลกแห่งความเป็นจริงที่น้อยลงได้ เนื่องจากทราบความเคลื่อนไหวของผู้ที่อยู่ในเครือข่ายอย่างตลอดเวลา
      
       8.นโยบายของบางโรงเรียน บางมหาวิทยาลัย บางครอบครัวหรือในบางประเทศมีปัญหามากมายที่เกิดจากFaceBook ทำให้ FaceBook ไม่ได้รับการอนุญาตให้มีในหลายพื้นที่
      
       จึงกล่าวได้ว่าผู้ปกครองควรเอาใจใส่ลูกหลานของท่านที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นซึ่งนิยมท่องโลกอินเตอร์เน็ต ให้มีความระมัดระวังและมีวิจารณญาณในการเล่นFacebookมากยิ่งขึ้น เพราะ FaceBookนั้นเป็นทั้งสื่อที่มีทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์ในเวลาเดียวกัน

1.2 ความรู้เบื้องต้น :ความหมายและความสำคัญของ Social Network

ความหมายและความสำคัญของ Social Network


Social Network คืออะไร
    Social Network คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกัน ผ่านInternet ซึ่งเป็นเว็บไซต์ช่วยให้คุณหาเพื่อนบนโลกอินเตอร์เน็ตได้ง่ายๆ เราสามารถที่จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมา เพื่อแนะนำตัวเองได้ โดยเลือกได้ว่าต้องการรู้จักกับใคร หรือเป็นเพื่อนกับใคร ก็ได้ ตัวอย่าง Social Network เช่น Hi5, Facebook, MySpace.com, twitter เป็นต้น
ประโยชน์ของ Social Network
     Social Network มีจุดเด่นหลัก คือ ช่วยเรื่องการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ สื่อสารได้ในวงกว้าง ได้หลายรูปแบบ เช่น ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ ในเชิงการใช้งานทั่วไปแล้ว สามารถสื่อสารกับคนที่มีความชื่นชอบในเรื่องเดียวกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือรวมตัวกันทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งพบป่ะเพื่อน ที่ไม่เคยเจอกันนานแล้ว หรือเพื่อนที่อยู่ไกลกันได้อีกด้วย และด้วยความที่ Social Network  เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้รวดเร็วและเป็นช่องทางการสื่อสารได้ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำมาใช้ทางด้านธุรกิจ โปรโมทตนเอง โปรโมทสินค้า องค์กร หรือบริษัท รวมถึงใช้เป็นช่องทางสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า สร้างกิจกรรม หรือพูดคุยตอบข้อซักถามถึงสินค้าและบริการ ทำให้เรามีอีกช่องทางในการสื่อสารกับลูกค้าได้

ข้อมูลอ้างอิง
http://community.blogtika.com










Social = สังคม

Network = เครือข่าย

Media = สื่อ

สื่อ ที่เป็น เครือข่าย ใน สังคม เหมือนเวลาที่เราจะกินข้าว จะใช้มือจกกินเลยก็ได้นะ ไม่ต้องพึ่งใคร แต่เมื่อไหร่ที่ใช้ช้อนตักข้าวเข้าปาก นั่นหมายความว่า “ช้อนทำให้คุณกินข้าวได้สะดวกขึ้น” ใช่หรือไม่ เช่นเดียวกันกับ Social Network เค้าก็อยู่ของเค้าดีๆ ก็สื่อสารกันได้ไม่มีปัญหา แต่เมื่อมี Media เข้ามา Network จึงไม่มีความหมายอีกต่อไป เหลือแค่ Social+Media ก็สามารถเข้ามา การสื่อสารแบบเครือข่ายก็สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงเป็นที่นิยมของผู้ที่เห็นช่องทางทำการตลาด จนเกิดเป็น Social Media Marketing

ซึ่งการ ใช้สื่อประเภทนี้ ควรมีคำเตือนติดข้างผนังก่อนลงมือทำทุกครั้ง เพราะเมื่อไหร่ที่เราใช้สื่อผิดประเภท หรือผิดช่องทาง สิ่งที่คิดว่าจะได้ผลตอบรับ อาจกลายเป็น “ผลตอกกลับ” มาจากผู้บริโภคก็เป็นได้ เพราะการทำ Social Media Marketing เป็นเสมือนการยืนหน้าไปหาคนที่ไม่รู้จัก ในเวลาที่เค้ากำลังเมาท์กันมันส์ สนั่นชุมชนโคกอีแร้ง หรือที่เรียกว่า “Community” ใครที่ยืนหน้าเข้าไปในเวลาที่กำลังเกิดดราม่าอย่างละคร เมียแต่ง ถ้าไม่สวยกว่า เรยา ก็อย่าได้ยืนหน้าเข้าไปเวลานั้นเลยค่ะ เพราะนอกจากจะไม่มีใครสนใจแล้ว เค้าอาจจะเข้าใจผิดว่าคุณจะมาขอแบ่งสามีเค้าก็ได้นะคะ การสสื่อสารบน Social Media จึงจำเป็นต้องมีวิธีที่น่าสนใจ ในเวลาที่เหมาะสม และตรงกลุ่มเป้าหมาย




-------------------------------------------------------------------------------
1. Social Media Social Networking จิระ ห้องสำเริง www.smemedia.com
2. Social Networking ชุมชนออนไลน์ เป็นชุมชนเล็กๆ ในโลกออนไลน์ ที่ไม่ต้องการพื้นที่ทางกายภาพ ในการสร้างชุมชน ใครๆ ก็สามารถเข้าถึงชุมชนแห่งนี้ได้ ถ้าคุณเป็นคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ชุมชนออนไลน์มีหลายแบบ แบบที่คุณมีบ้านอยู่ในชุมชนนั้น อย่าง Hi5 Facebook แบบสภากาแฟ อย่าง PANTIP
3. เราได้อะไร จาก Social Networking เป็นแหล่งรวมผลงาน และความคิดสร้างสรรค์ เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้และต่อยอดความรู้ เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ เป็นแหล่งสร้างเพื่อน สร้างเครือข่าย
4. ความหมายของ Social Media Social media are primarily Internet- and mobile-based tools for sharing and discussing information among human beings. The term most often refers to activities that integrate technology, telecommunications and social interaction, and the construction of words, pictures, videos and audio. This interaction, and the manner in which information is presented, depends on the varied perspectives and "building" of shared meaning among communities, as people share their stories and experiences. Businesses also refer to social media as user-generated content (UGC) or consumer-generated media (CGM).
5. Social Media Social Media แตกต่างจาก Media อื่นๆ ไม่ว่า จะเป็น หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือภาพยนตร์ เพราะ Social Media จะเชื่อมโยงกับเครื่องมือสื่อสารที่มีต้นทุนถูกและใช้งานได้สะดวกง่ายดาย สำหรับคนในสังคมทั่วไป ในการที่จะเข้าถึงข้อมูล หรือเป็นผู้สื่อสารข้อมูลเองก็ตาม การลงทุนทำ Media ประเภทอื่นๆ ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากในการผลิตและส่งข่าวสารข้อมูล เช่น โทรทัศน์ต้องใช้เงินเป็นสิบ หรือเป็นร้อยล้านบาทในการดำเนินการ เช่นเดียวกับการออกหนังสือพิมพ์สักเล่ม หรือ ทำรายการวิทยุสักช่อง ก็ต้องใช้เงินมหาศาลเช่นกัน แต่สำหรับ Social Media แล้วใช้เงินน้อยมาก หรืออาจไม่ต้องใช้เลยก็ได้
6. Socail Media สิ่งที่เหมือนกันอย่างหนึ่งของ Social Media และ Media ทั่วไปคือ ความสามารถในการเข้าถึงผู้รับสารที่หลากหลาย ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ถึงคนจำนวนมหาศาล เช่น การออกอากาศทางโทรทัศน์ อาจไม่มีผู้ชมเลย หรือ มีผู้ชมนับล้านคนก็ได้ แต่สิ่งที่ทำให้ Social Media แตกต่างจากสื่อประเภทอื่น ประกอบไปด้วย Reach Accessibility Usability Recency
7. Socail Media Reach - both industrial and social media technologies provide scale and enable anyone to reach a global audience.
8. Socail Media Accessibility - the means of production for industrial media are typically owned privately or by government; social media tools are generally available to anyone at little or no cost.
9. Socail Media Usability — industrial media production typically requires specialized skills and training. Most social media does not, or in some cases reinvents skills, so anyone can operate the means of production.
10. Socail Media Recency — the time lag between communications produced by industrial media is long (days, weeks, or even months) compared to social media (which can be capable of virtually instantaneous responses; only the participants determine any delay in response). As industrial media is currently adopting social media tools, this feature may well not be distinctive anymore in some time
11. Socail Media คือ อะไร ? Social Media คือเครื่องมือ หรือเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต ที่นักท่องเว็บและบริษัทต่าง ๆ เข้าไปเพื่อทำการสื่อสาร รวบรวมข้อมูล และแม้กระทั่งไปร่วมมือกันกับคนในชุมชนนั้น ๆ ทำงานบางสิ่งบางอย่าง โดยเมื่อเราพูดถึง Social Media เรามักจะรวมถึงเครื่องมืออย่างเช่น blog podcast เว็บประเภท Video Sharing เช่น YouTube เว็บประเภท Social Network เช่น Facebook , Hi5 เว็บประเภท micro blog เช่น Twitter เว็บประเภทอัลบั้มรูปภาพอย่างเช่น Flickr เว็บ bookmark ต่าง ๆ เช่น Digg , Stumble Upon หรือแม้กระทั่งเว็บอื่น ๆ ที่คุณสามารถมีปฎิสัมพันธ์ หรือแบ่งปันบางสิ่งบางอย่าง กับนักท่องเว็บคนอื่น ๆ ได้อย่างทันทีทันใด Posted on 04 February 2009 by เก่ง
ที่มา: http://www.slideshare.net/tiddin/social-media-social-networking



โลโก้ของ Social Network ต่างๆ

1.1 ความรู้เบื้องต้น : ความหมายและความสำคัญของ Social Media

1.1 ความรู้เบื้องต้น : ความหมายและความสำคัญของ Social Media


      ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในช่วง 10 ปีย้อนหลังมานี้ มีพัฒนาการไปอย่างมากมาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ พัฒนาจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ใช้งานส่วนบุคคล ใช้งานคนเดียวเครื่องเดียว ไม่เกี่ยวข้องกัใคร พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลในคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเข้าด้วยกันได้ ทำให้สามารถเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆกันได้ทั่วโลก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในช่วง 10 ปีย้อนหลังมานี้ มีพัฒนาการไปอย่างมากมาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ พัฒนาจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ใช้งานส่วนบุคคล ใช้งานคนเดียวเครื่องเดียว ไม่เกี่ยวข้องกัใคร พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลในคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเข้าด้วยกันได้ ทำให้สามารถเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆกันได้ทั่วโลก และพัฒนาจนกระทั้งคอมพิวเตอร์ กลายเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคลและกลุ่มบุคคลได้อย่างกว้างขวางทั่วโลก ขณะเดียวกัน เทคโนโลยีของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่มีบทบาทหลักในด้านการสื่อสาร ก็ได้รับการพัฒนาจนมีความสามารถในการสื่อสารระหว่าบุคคลและกลุ่มบุคคลได้อย่างกว้างขวาง และไม่เพียงแต่การสื่อสารกันด้วยเสียงเท่านั้นสื่อยังสื่อสารผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพ และภพเคลื่อไหวได้ด้วย ทำให้ปัจจุบันโลกดูแคบลง เพราะเราสามารถติดต่อกับบุคคลต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย รวมทั้งสามารถสามารถสามารถติดต่อสื่อสารผ่านสือ (Media) ในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

ความหมายของ Social Media

คำว่า “Social” หมายถึง สังคม ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงสังคมออนไลน์ ซึ่งมีขนาดใหม่มากในปัจจุบัน


คำว่า “Media” หมายถึง สื่อ ซึ่งก็คือ เนื้อหา เรื่องราว บทความ วีดีโอ เพลง รูปภาพ เป็นต้น



ดังนั้นคำว่า Social Media จึงหมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต พูดง่ายๆ ก็คือเว็บไซต์ที่บุคคลบนโลกนี้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้นั่นเอง



พื้นฐานการเกิด Social Media ก็มาจากความต้องการของมนุษย์หรือคนเราที่ต้องการติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน จากเดิมเรามีเว็บในยุค 1.0 ซึ่งก็คือเว็บที่แสดงเนื้อหาอย่างเดียว บุคคลแต่ละคนไม่สามารถติดต่อหรือโต้ตอบกันได้ แต่เมื่อเทคโนโลยีเว็บพัฒนาเข้าสู่ยุค 2.0 ก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า web application ซึ่งก็คือเว็บไซต์มีแอพลิเคชันหรือโปรแกรมต่างๆ ที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถโต้ตอบกันได้ผ่านหน้าเว็บ

ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า Social Media มีลักษณะดังนี้ (http://www.doctorpisek.com/pisek/?p=694)

1 เป็นสื่อที่แพร่กระจายด้วยปฏิสัมพันธ์เชิงสังคม
ตรงนี้ไม่ต่างจากคนเราสมัยก่อนครับ ที่เกิดเรื่องราวที่น่าสนใจอะไรขึ้นมา ก็พากันมานั่งพูดคุยกันจนเกิดสภาพ Talk of the town แต่เมื่อมาอยู่ในโลกออนไลน์ การแพร่กระจายของสื่อก็ทำได้ง่ายขึ้นโดยเกิดจากการแบ่งปันเนื้อหา (Content Sharing) จากใครก็ได้ อย่างกรณีของป้า Susan Boyle ที่ดังกันข้ามโลกเพียงไม่กี่สัปดาห์จากการลงคลิปที่ประกวดร้องเพลงในรายการ Britain’s Got Talent ผ่านทาง Youtube เป็นต้น ทั้งนี้ Social media อาจจะอยู่ในรูปของ เนื้อหา รูปภาพ เสียงหรือวิดีโอ
2 เป็นสื่อที่เปลี่ยนแปลงสื่อเดิมที่แพร่กระจายข่าวสารแบบทางเดียว (one-to-many) เป็นแบบการสนทนาที่สามารถมีผู้เข้าร่วมได้หลายๆคน (many-to-many)
เมื่อมีสภาพของการเป็นสื่อสังคม สิ่งสำคัญก็คือการสนทนาพาทีที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นการร่วมกลุ่มคุยในเรื่องที่สนใจร่วมกัน หรือการวิพากษ์วิจารณ์สินค้าหรือบริการต่างๆ โดยที่ไม่มีใครเข้ามาควบคุมเนื้อหาของการสนทนา แม้กระทั่งตัวผู้ผลิตเนื้อหานั่นเอง เพราะผู้ที่ได้รับสารมีสิทธิที่จะเข้าร่วมในรูปแบบของการเพิ่มเติมความคิดเห็น หรือแม้กระทั่งเข้าไปแก้ไขเนื้อหานั้นได้ด้วยตัวเอง
3 เป็นสื่อที่เปลี่ยนผู้คนจากผู้บริโภคเนื้อหาเป็นผู้ผลิตเนื้อหา
จากคนตัวเล็กๆในสังคมที่แต่เดิมไม่มีปากมีเสียงอะไรมากนัก เพราะเป็นเพียงคนรับสื่อ ขณะที่สื่อ
จำพวก โทรทัศน์ วิทยุ หรือ หนังสือพิมพ์จะเป็นผู้ทรงอิทธิพลอย่างมาก สามารถชี้ชะตาใครต่อใครหรือสินค้าหรือบริการใดโดยที่เราแทบจะไม่มีทางอุทธรณ์ แต่เมื่อเป็น Social Media ที่แทบจะไม่มีต้นทุน ทำให้ใครๆก็สามารถผลิตเนื้อหาและกระจายไปยังผู้รับสารได้อย่างเสรี หากใครผลิตเนื้อหาที่โดยใจคนหมู่มาก ก็จะเป็นผู้ทรงอิทธิพลไป ยิ่งหากเป็นในทางการตลาด ก็สามารถโน้มนำผู้ติดตามในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการได้โดยง่าย

ถ้าอธิบายความหมายเพียงแค่นี้ หลายท่านอาจจะนึกภาพ Social Media ไม่ออก ถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆก็คงจะต้องเปิดเว็บไซต์ต่างๆ ที่เผยแพร่กันอยู่บนอินเทอร์เน็ต ขึ้นมาสักเว็บไซต์หนึ่ง จะเห็นว่า บนหน้าเว็บไซต์นั้น เราจะพบตัวหนังสือ ภาพ หรืออื่นๆ เราจะเรียกสิ่งที่นำเสนอผ่านหน้าเว็บไซต์ดังกล่าวว่า สื่อ (media) แต่เนื่องจากสื่อดังกล่าวที่เผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตเหล่านั้น เราจึงเรียกว่า สื่อออนไลน์ (หมายถึงสื่อที่ส่งมาตามสาย (line) ถึงแม้ปัจจุบัน จะเผยแพร่แบบไร้สาย เราก็ยังเรียกว่า ออนไลน์

ก่อนหน้านั้น การเปิดดูสื่อแต่ละเว็บไซต์นั้น ต่างคนก็ต่างเปิดเข้าไปดูสื่อออนไลน์ในเว็บไซต์เหล่านั้น ต่อมาจึงมีผู้คิดว่า ทำอย่างไร จะทำให้ผู้ที่เข้ามาในเว็บไซต์นั้นๆ แทนที่จะมาอ่าน มาดูสื่อเพียงอย่างเดียว ทำอย่างไรให้สามารถมาสร้างสื่อ เช่น พิมพ์ข้อความ หรือใส่ภาพ เสียง วีดิโอ ในเว็บไซต์นั้นได้ด้วย ซึ่งเว็บไซต์ที่พัฒนาในระยะต่อมาจะเป็นเว็บไซต์ที่ผู้คนทั่วๆไป สามารถเข้าไปเพิ่มเติมเนื้อหา หรือเพิ่มเติมสื่อได้ตามที่ตนเองต้องการ ซึ่งมีผลทำให้เว็บไซต์เหล่านั้น เป็นเว็บไซต์ที่ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมในการสร้างสื่อ แทนที่จะเป็นเว็บไซต์ส่วนตัวของคนใดคนหนึ่ง ก็กลายเป็นเว็บไซต์ของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งขึ้นมา ทำให้เกิดเป็นชุมชน หรือสังคมย่อยๆของผู้ที่ใช้เว็บไซต์นั้นขึ้นมา โดยเนื้อหาหรือสื่อที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์นั้น ก็เป็นสื่อที่คนในสังคมนั้นๆช่วยกันสร้างขึ้นมา

แต่การพัฒนายังไม่หยุดยั้ง เพราะมีการคิดกันต่อไปอีกว่าทำอย่างไรที่จะให้คนในชุมชนหรือสังคมของคนใช้เว็บไซต์นั้นๆ นอกจากจะสามารถเพิ่มสื่อของตนเองแล้ว ยังสามารถที่จะสื่อสาร ติดต่อ โต้ตอบกันได้ด้วย ซึ่งปัจจุบัน มีเว็บไซต์จำนวนมากที่สามารถพัฒนาจนกระทั่งสร้างเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกจำนวนมากนับเป็นล้านคน สามารถติดต่อสื่อสาร ส่งเรื่องราวต่างๆถึงกันได้อย่างกว้างขวาง ทำให้เรื่องราวที่ส่งถึงกันนั้น เป็นเรื่องราวของคนในสังคมออนไลน์นั้น กลายเป็นสื่อ หรือ media ที่สร้างโดยคนท่อยู่ในสังคมที่เป็นสมาชิกของเว็บไซต์นั้นๆ

เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนของ Social Media มากขึ้น จะขอยกตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็นสังคมขนาดใหญ่มีสมาชิกเป็นล้านคนทั่วโลก แต่แต่ละคนที่มีเรื่องราวมากมายเผยแพร่บนเว็บไซต์ กลางเป็นแหล่งรวมของเรื่องรวหรือ สื่อออนไลน์ขนาดใหญ่ ซึ่งคนทั่วไปก็รู้จักดีคือเว็บไซต์ของ Facebook

ประเภทของ Social Media
1 Blog
ซึ่งเป็นการลดรูปจากคำว่า Weblog ซึ่งถือเป็นระบบจัดการเนื้อหา (Content Management System: CMS) รูปแบบหนึ่ง ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถเขียนบทความเรียกว่า Post และทำการเผยแพร่ได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยากในการที่จะต้องมานั่งเรียนรู้ถึงภาษา HTML หรือโปรแกรมทำ web site ทั้งนี้การเรียงของเนื้อหาจะเรียงจากเนื้อหาที่มาใหม่สุดก่อน จากนั้นก็ลดหลั่นลงไปตามลำดับของเวลา (Chronological Order) การเกิดของ Blog เปิดโอกาสให้ใครๆที่มีความสามารถในด้านต่างๆ สามารถเผยแพร่ความรู้ดังกล่าวด้วยการเขียนได้อย่างเสรี ไม่มีขีดจำกัดเรื่องเทคนิคอย่างในอดีตอีกต่อไป ทำให้เกิด Blog ขึ้นมาจำนวนมากมาย และเพิ่มเนื้อหาให้กับโลกออนไลน์ได้เป็นจำนวนมหาศาลอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นอกจากนี้เครื่องมือที่สำคัญที่ทำให้เกิดลักษณะของ Social คือการเปิดให้เพื่อนๆเข้ามาแสดงความเห็นได้นั่นเอง

2 Twitter และ Microblog อื่นๆ
เป็นรูปแบบหนึ่งของ Blog ที่จำกัดขนาดของการ Post แต่ละครั้งไว้ที่ 140 ตัวอักษร โดยแรกเริ่มเดิมที ผู้ออกแบบ Twitter ต้องการให้ผู้ใช้เขียนเรื่องราวว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่ในขณะนี้ (What are you doing?) แต่กิจการต่างๆกลับนำ Twitter ไปใช้ในทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างการบอกต่อ เพิ่มยอดขาย สร้าง Brand หรือเป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) ทั้งนี้เรายังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์บทความใหม่ๆบน Blog ของเราได้ด้วย Twitter นั้นเป็นนิยมขึ้นมากอย่างรวดเร็ว จนทำให้เว็บไซต์ประเภท Social Network ต่างๆ เพิ่ม Feature ที่ให้ผู้ใช้สามารถบอกได้ว่าตอนนี้กำลังทำอะไรกันอยู่ นั้นก็คือการนำ Microblog เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งด้วยนั้นเอง
3 Social Networking
จากชื่อก็สามารถแปลความหมายได้ว่าเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงเรากับเพื่อนๆจนกลายเป็นสังคม ทั้งนี้ผู้ใช้จะเริ่มต้นสร้างตัวตนของตนเองขึ้นในส่วนของ Profile ซึ่งประกกอบด้วยข้อมูลส่วนตัว (Info) รูป (Photo) การจดบันทึก (Note) หรือการใส่วิดีโอ (Video) และอื่นๆ นอกจากนี้ Social Networking ยังมีเครื่องมือสำคัญในการสร้างจำนวนเพื่อนให้มากขึ้น คือ ในส่วนของ Invite Friend และ Find Friend รวมถึงการสร้างเพื่อนจากเพื่อนของเพื่อนอีกด้วย
4 Media Sharing
เป็นเว็บไซต์ที่เปิดโอกาสให้เราสามารถ upload รูปหรือวิดีโอเพื่อแบ่งปันให้กับครอบครัว เพื่อนๆ หรือแม้กระทั่งเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน นักการตลาด ณ ปัจจุบันไม่จำเป็นจะต้องทุ่มทุนในการสร้างหนังโฆษณาที่มีต้นทุนสูง เราอาจจะใช้กล้องดิจิตอลราคาถูกๆ ถ่ายทอดความคิดเป็นรูปแบบวิดีโอ จากนั้นนำขึ้นไปสู่เว็บไซต์ Media Sharing อย่าง Youtube หากความคิดของเราเป็นที่ชื่นชอบ ก็ทำให้เกิดการบอกต่ออย่างแพร่หลาย หรือกรณีหากกิจการคุณขายสินค้าที่เน้นดีไซน์ที่สวยงาม ก็อาจจะถ่ายรูปแล้วนำขึ้นไปสู่เว็บไซต์อย่าง Flickr เพื่อให้ลูกค้าได้ชม หรืออาจจะใช้เป็นเครื่องมือในการนำชมโรงงาน หรือบรรยากาศในการทำงานของกิจการ เป็นต้น หรืออย่างกรณีของ Multiply ที่คนไทยนิยมนำรูปภาพที่ตนเองถ่ายมาแสดงฝีมือ เหมือนเป็นแกลลอรีส่วนตัว ทำให้ผู้ว่าจ้างได้เห็นฝีมือก่อนที่จะทำการจ้าง
5 Social News and Bookmarking
เป็นเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงไปยังบทความหรือเนื้อหาใดในอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้เป็นผู้ส่งและเปิดโอกาสให้คะแนนและทำการโหวตได้ เป็นเสมือนมหาชนช่วยกลั่นกรองว่าบทความหรือเนื้อหาใดนั้นเป็นที่น่าสนใจที่สุด ในส่วนของ Social Bookmarking นั้น เป็นการที่เปิดโอกาสให้คุณสามารถทำการ Bookmark เนื้อหาหรือเว็บไซต์ที่ชื่นชอบ โดยไม่ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง แต่สามารถทำผ่านออนไลน์ และเนื้อหาในส่วนที่เราทำ Bookmark ไว้นี้ สามารถที่จะแบ่งปันให้คนอื่นๆได้ด้วย นักการตลาดจะใช้เป็นเครื่องมือในการบอกต่อและสร้างจำนวนคนเข้ามายังที่เว็บไซต์หรือ Campaign การตลาดที่ต้องการ
6 Online Forums
ถือเป็นรูปแบบของ Social Media ที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเสมือนสถานที่ที่ให้ผู้คนเข้ามาพูดคุยในหัวข้อที่พวกเขาสนใจ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่อง เพลง หนัง การเมือง กีฬา สุขภาพ หนังสือ การลงทุน และอื่นๆอีกมากมาย ได้ทำการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แสดงข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนถึงการแนะนำสินค้าหรือบริการต่างๆ นักการตลาดควนสนใจเนื้อหาที่พูดคุยใน Forums เหล่านี้ เพราะบางครั้งอาจจะเป็นคำวิจารณ์เกี่ยวกับตัวสินค้าและบริการของเรา ซึ่งเราเองสามารถเข้าไปทำความเข้าใจ แก้ไขปัญหา ตลอดจนถึงใช้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เว็บไซต์ประเภท Forums อาจจะเป็นเว็บไซต์ที่เปิดให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันโดยเฉพาะ หรืออาจจะเป็นส่วนหนึ่งในเว็บไซต์เนื้อหาต่างๆ

ที่มา: http://www.doctorpisek.com/pisek/?p=718

       









ความสำคัญของ Social Media






 

เนื้อหาของ Social Media โดยทั่วไปเปรียบได้หลายรูปแบบ ทั้ง กระดานความคิดเห็น (Discussion boards), เว็บบล็อค (Weblogs), วิกิ (wikis), Podcasts, รูปภาพ และวิดีโอ ส่วนเทคโนโลยีที่รองรับเนื้อหาเหล่านี้ก็รวมถึง เว็บบล็อค (Weblogs), เว็บไซต์แชร์รูปภาพ, เว็บไซต์แชร์วิดีโอ, เว็บบอร์ด, อีเมล์, เว็บไซต์แชร์เพลง, Instant Mess




 



http://www.marketingoops.com/media-ads/social-media/what-is-social-media/




Social Media กับ Social Network แตกต่างกันอย่างไร


Social หมายถึง "สังคม" ซึ่งในที่นี้ก็จะหมายถึง สังคมออนไลน์นั่นเอง
Mediaหมายถึง "สื่อ" ซึ่งในที่นี้ก็จะหมายถึงสื่อในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาพ เสียง วีดิโอ ข้อความ เป็นต้น
ดังนั้น Social Mediaก็น่าจะหมายความว่า สื่อสังคมออนไลน์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน โดยใช้สื่อต่างๆ เป็นตัวแทนในการสนทนา โดยได้มีการจัดแบ่งประเภทของ Social Media ออกเป็นหลายประเภท เช่น ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ (Publish) ที่มี Wikipedia, Blogger เป็นต้น, ประเภทสื่อแลกเปลี่ยน (Share) ที่มี YouTube, Flickr, SlideShare เป็นต้น, ประเภทสื่อสนทนา (Discuss) ที่มี MSN, Skype, Google Talk เป็นต้น และยังมีอีกหลายประเภท โดยอีกประเภทของ Social Media ที่สร้างความสับสนให้บ้าง ก็คือ ประเภทเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือที่เรียกกันว่า Social Network ที่มี Facebook, LinkedIn, Google+ เป็นต้น
ที่มา: http://pongluck.blogspot.com/2012/08/social-media-social-network.html

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประชุม โรงแรมหัวหินแกรนด์

วันนี้เข้าร่วมประชุมที่โรงแรมหัวหินแกรนด์ แอนพลาซ่า อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบ

วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทดลองใช้งาน


นายศรีเชาวน์ วิหคโต


ทดลองเข้ามาใช้บริการของ blogspot อีกครั้ง หลังจากที่เคยบันทึกมาแล้วช่วงหนึ่งแต่เข้าไปใช้งานไม่ได้ ตอนนี้จะเริ่มต้นใหม่
blog เดิม อยู่ที่
http://thai-teacher.blogspot.com